ผลิตภัณฑ์ “เห็ดหลินจือ” ปลอดภัยหรือไม่ ?

เห็ดหลินจือปลอดภัยหรือไม่

เห็ดหลินจือ จัดเป็นราชาแห่งสมุนไพรจีนที่มีการใช้มานานกว่า 4,000 ปี ทั้งในประเทศจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน รวมทั้งประเทศไทย เป็นยาอายุวัฒนะและรักษาโรคต่าง ๆ จะเห็นได้ว่าปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เห็ดหลินจือในท้องตลาดมากมาย แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าผลิตภัณฑ์ หรือ เห็ดหลินจือปลอดภัยหรือไม่ มากน้อยเพียงใด ??

การศึกษาความปลอดภัย

มีรายงานวิจัยเกี่ยวกับความปลอดภัยของเห็ดหลินจือทั้งการทดลองในสัตว์และ
ในคน งานวิจัยที่ทดสอบความเป็นพิษในหนูพบว่าสารสกัดเห็ดหลินจือที่ฉีดเข้า
ช่องท้องมีค่า LD50 สูงถึง 38 กรัม/กิโลกรัม สารสกัดน้ำมีค่า LD50 มากกว่า
5 กรัม/กิโลกรัมไม่ก่อเกิดพิษต่อระบบเลือด ตับและตการให้สารสกัด
แอลกอฮอล์แก่หนูในขนาด 1.2 และ 12 กรัม/กิโลกรัม ทุกวัน เป็นเวลา 30 วัน ไม่
พบพิษต่อตับและการเจริญเติบโตการให้สารสกัดแอลกอฮอล์แก่สุนัขในขนาด
12 กรัม/กิโลกรัม ทุกวัน เป็นเวลา 15 วัน และขนาด 24 กรัม/กิโลกรัมทุกวัน
เป็นเวลา 13 วัน ไม่พบพิษ

การศึกษาในผู้ป่วยชายโรคทางเดินปัสสาวะจำนวน 88 คน
รับประทานสารสกัดเห็ดหลินจือขนาด 6 มิลลิกรัม ทุกวัน เป็น
เวลา 12 สัปดาห์ พบว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นกว่ากลุ่มควบคุม
และไม่พบผลข้างเคียงและความเป็นพิษต่อระบบเลือด ตับและไต


แสดงว่าสารสกัดเห็ดหลินจือ (ส่วนดอก)
มีความปลอดภัยในการรับประทานเป็นระยะยาว ส่วนการศึกษาความเป็นพิษ
เฉียบพลันของสปอร์เห็ดหลินจือพบว่าค่า LD50 มากกว่า 10 กรัม/กิโลกรัม
และไม่พบความเป็นพิษต่อยีน (พันธุกรรม) และสุจิ การศึกษาในหนูพบว่าการ
ป้อนสปอร์เห็ดหลินจือขนาด 4.5 กรัม/กิโลกรัม เป็นเวลา 30 วัน ไม่ก่อเกิดพิษ

ผลข้างเคียง

การรับประทานสารสกัดเห็ดหลินจือขนาด 1.5-9 กรัม/วัน ไม่พบผลข้างเคียงอย่างรุนแรง แต่อาจจะพบว่า มีอาการ
ง่วงนอน กระหายน้ำ ปีสสาวะบ่อย เหงื่อออก อุจจาระเหลว หรือมีผื่นแพ้ ซึ่งเป็นปฎิริยาตอบสนองของเห็ดหลินจือต่อแต่ละบุคคล

ข้อควรระวัง

  • การรับประทานสารสกัดเห็ดหลินจือขนาด 2-10 กรัม/วัน ร่วมกับวิตามินซี ขนาด 6-12 กรัม/วัน จะทำให้ถ่ายอุจจาระเหลว
  • ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิต้านทาน ทั้งนี้เพราะเห็ดหลินจือมีฤทธิ์เพิ่มภูมิต้านทาน
  • ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยที่ได้รับประทานยากลุ่มป้องกันการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือด เช่น ยา aspirin หรือยา warfarin ทั้งนี้เพราะเห็ดหลินจือมีฤทธิ์เสริมยาดังกล่าว
  • สารสกัดน้ำเห็ดหลินจือมีฤทธิ์เสริมยาต้านจุลชีพ cefazolin ต่อ เชื้อ Klebsiella oxytoca ATCC 8724, Bacillus subtilis ATCC 6603, Staphylococcus aureus ATCC 25923, Escherichia coli ATCC 25933 และ Salmonella typhi ATCC 6509

สรุป

จะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์เห็ดหลินจือที่ไม่ได้สกัดทั้งที่ได้จากส่วนดอก สปอร์ และเส้นใยมีความปลอดภัยในการรับประทาน ในขนาด 1.87 กรัม/น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม/วัน เป็นเวลา26 สัปดาห์ หรือเทียบเท่ากับขนาดการรับประทาน 112.2กรัม ต่อวัน ของผู้ใหญ่น้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม เป็นเวลา4 เดือน แต่การรับประทานผลิตภัณฑ์เห็ดหลินจือจะต้องระวังในผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยที่เปลี่ยนถ่ายอวัยวะที่ต้องรับประทานยากดภูมิต้านทาน และผู้ป่วยที่รับประทานยาป้องกันการเกาะตัวของเกร็ดเลือด ส่วนผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้จะต้องระวังการแพ้สปอร์ของเห็ด

ขอขอบคุณข้อมูล
รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ. นพมาศ สุนทรเจริญนนท์
ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล

Shopping Cart
Scroll to Top